วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 16

ส่ง blogger
พูดเกี่ยวกับศัพท์ทางคอมพิวเตอร์
ไปซ่อมแซมให้คอมพิวเตอร์

สัปดาห์ที่ 15

หาเนื้อหาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
เป็นภาษาอังกฤษ

สัปดาห์ที่ 14

นำเสนอผลงาน

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 13

แก้ไขงาน power point

เพื่อนำมา present

สัปดาห์ที่ 12

สัปดาห์ที่12
ให้อาจารย์ตรวจงาน

วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

BIOS

สัปดาห์ที่ 11

การกำหนดค่า BIOS และการ Overclock

BIOS (อ่านว่า ไบออส) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับเครื่องพีซี เพราะการทำงานตั้งแต่เริ่มเปิดเครื่องก็จะเริ่มต้นที่ BIOS และการที่เครื่องพีซีจะสามารถมีองค์ประกอบที่แตกต่างกันไปได้ก็โดย

BIOS คืออะไร ?

BIOS (Basic Input Output System) ประกอบด้วย2ส่วนคือ

1.ตัวโปรแกรมที่เก็บอยู่ใน ROM ซึ่งเป็นหน่วยความจำชนิดที่สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างถาวรไม่ลบเลือนเมื่อปิดเครื่องหรือไม่มีไฟเลี้ยง แต่ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปได้

2.ข้อมูลหรือค่าต่างๆที่ตั้งให้โปรแกรมจะทำงานจะเก็บอยู่ใน CMOS RAM (ย่อมาจาก Complementary Metal Oxide Semiconductor) ซึ่งเป็นหน่วยความจำชนิดที่สามารถเขียนข้อมูลหรือแก้ไขข้อมูลได้และกินไฟน้อยเพื่อให้สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลและเก็บไว้ได้แม้ขณะที่ปิดเครื่อง โดยใช้ไฟเลี้ยงจากแบตเตอรี่ ก้อนเล็กๆ CMOS เป็นเทคโนโลยีในการผลิตสารกึ่งตัวนำชนิดพิเศษที่กินไฟน้อยมาก ต่างๆของ BIOS

การอัพเกรด BIOS (Upgrade)

บ่อยครั้งที่การอัพเกรด BIOS เป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจาก BIOS เดิมอาจจะไม่รองรับกับชิ้นส่วนใหม่ๆเช่น ซีพียูรุ่นใหม่ หรือฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่ที่มีความจุสูงขึ้น เป็นต้น ดังนั้นการอัพเกรด BIOS จะขึ้นอยู่กับชนิดของชิป ROM BIOS ที่ใช้เก็บตัวโปรแกรมว่าเป็นแบบ flash หรือ non – flash ถ้าเป็น flash BIOS ซึ่งสามารถแก้ไขข้อมูลได้ ก็จะสามารถอัพเกรดได้ด้วยซอฟแวร์ที่อาจได้มาจากการดาวน์โหลดจากเว็บไซท์ของผู้ผลิตเมนบอร์ดนั้นๆ พร้อมกับโปรแกรมที่จำเป็น แล้วทำตามขั้นตอนที่คู่มือของเมนบอร์ดรุ่นนั้นๆแนะนำไว้

Note

การอัพเกรด BIOS เป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ BIOS ใหม่ก็อาจจะสร้างปัญหาใหม่ให้กับเมนบอร์ดอย่างคาดไม่ถึงได้ และถ้ามีปัญหาอัพเกรดไม่สำเร็จอาจจะถึงขั้นทำให้เมนบอร์ดนั้นใช้ไม่ได้อีกเลย ดังนั้นถ้าไม่จำเป็นหรือไม่มีอะไรที่เป็นปัญหาติดขัดอยู่ ก็ไม่ควรจะอัพเกรด BIOS เล่นเป็นต้น

การกำหนดค่า BIOS

ปกติแล้วการกำหนด BIOS จะทำได้โดยกดคีย์บอร์ดในขณะที่บู๊ตเครื่อง ซึ่งก็แล้วแต่ BIOS ของเครื่องนั้นๆ โดยส่วนใหญ่จะใช้คีย์ [Del] นอกจากนั้นก็มี [F1] (IBM) , [F2] (Compaq)ซึ่งมักจะแสดงขึ้นมาบอกในขณะที่ BIOS แสดงชื่อและรุ่นออกมาตอนเปิดเครื่อง แต่ถ้าไม่มีก็คงต้องดูจากคู่มือเมนบอร์ด

วิธีการใช้งานหน้าจอกำหนดค่าของ BIOS ปกติแล้วมักจะมีลักษณะเป็นเมนูที่สามารถใช้คีย์ลูกศรทิศทางต่างๆเลื่อนไปยังแต่ละหัวข้อ และใช้คีย์ [Enter] ในการเลือกเข้าไปแต่ละเมนู ซึ่งทำให้สามารถเลือกเข้าไปที่หัวข้อต่างๆได้อย่างง่ายดาย ส่วนการเปลี่ยนแปลงค่าของแต่ละรายการอาจจะใช้คีย์ [PgUp],[PgDn]ในการเลื่อนค่ากลับไปกลับมาได้ ซึ่งบาง BIOS อาจจะใช้คีย์ [F7]และ[F8]หรือ[+],[-]หรือไม่ก็ใช้[Space]เพียงอย่างเดียวหรือ กดคีย์ [Enter]แล้วเลือกจากเมนูย่อยก็ได้ โดยส่วนใหญ่แล้วในหน้าจอจะมีรายการหน้าที่ของคีย์ต่างๆแสดงอยู่ เพื่อบอกให้รู้ว่าสามารถใช้คีย์ใดทำอะไรได้บ้าง ในการกลับออกไปที่เมนูหลักโดยส่วนใหญ่มักจะใช้คีย์[ESC]ส่วนมากออกจากระบบโดยการกำหนดค่า BIOS ก็มักจะมีให้เลือกว่าต้องการบันทึกการเปลี่ยนแปลงที่ทำนั้นก่อนที่จะออกไปหรือไม่ โดยมี 2 หัวข้อคือ Write to CMOS and exit (หรือบางทีก็เขียนว่า Exit and save change)ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลทุกอย่างที่แก้ไขไว้ใน CMOS ก่อนที่จะออกไปและ Do not write to CMOS and exit (หรือ Exit without save)ซึ่งเป็นการออกไปโดยไม่มีการเก็บข้อมูลใดๆซึ่งทุกอย่างจะกลับสู่สภาพเดิมเหมือนไม่มีการแก้ไขใดๆ

Password(กำหนดรหัสผ่าน)

ในBIOS จะมีการกำหนดรหัสผ่านได้ 2 ลักษณะ คือ

- Supervisor password เป็นรหัสผ่านที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากสามารถตั้งไว้เพื่อป้องกันการเข้าไปแก้ไขค่าต่างๆที่ถูกกำหนดไว้ใน BIOS ได้ การแก้ไขสำหรับในกรณีที่ลืมรหัสผ่านจำเป็นจะต้องใช้วิธีการ Clear BIOS อย่างเดียว

- User password เป็นรหัสผ่านที่ตั้งไว้เพื่อไม่ให้ผู้อื่นหรือผู้ใดที่ไม่ทราบรหัสผ่านสามารถเข้าไปใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นได้ ซึ่งถ้าตั้งรหัสผ่านไว้แล้วเครื่องจะถามรหัสผ่านทุกครั้งที่มีการเปิดเครื่อง

รหัสผ่านมีประโยชน์ในการป้องกันผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาใช้เครื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ามาเปลี่ยนแปลงBIOS ซึ่งอาจจะทำให้เครื่องมีปัญหาหรือใช้งานไม่ได้อีกเลย รวมทั้งการเข้ามาตั้งรหัสใหม่เพื่อทำให้เจ้าของเดิมใช้เครื่องไม่ได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามถ้าลืมรหัสที่กำหนดไว้ก็จะเป็นเรื่องวุ่นวายมากเลยทีเดียว เนื่องจากคุณจะไม่สามารถเข้าไปใช้งานเครื่องหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข BIOS ได้อีกเลย จึงควรหาทางจดบันทึกรหัสผ่านที่กำหนดนี้เก็บไว้ในที่ปลอดภัยด้วย มิฉะนั้นก็อาจจะต้องใช้วิธีเปิดเครื่องออกมาแล้วเสียบจัมเปอร์ใหม่ เพื่อลบค่าที่ตั้งไว้ให้กับBIOSออกไป (ถ้าทำได้) หรือแม้กระทั่งอาจจะต้องถอดถ่านหรือแบตเตอรี่ (Battery) ออกซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก

การตั้งค่า BIOS เพื่อ overclock

ปัจจุบันซีพียูมีความเร็วมากขึ้นจนกระทั่งการ overclock มีความหมายน้อยลงไปทุกที แต่เมนบอร์ดในปัจจุบันก็ช่วยให้การ overclock ทำได้ไม่ยากเหมือนแต่ก่อนที่ต้องปรับเปลี่ยนจัมเปอร์หรือตั้งค่าสวิตช์ กันมากมาย รวมทั้งไม่เสี่ยงต่อความเสียหายด้วย การ overclock ด้วย BIOS จึงถือได้ว่าเป็นการใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ให้คุ้มค่าเต็มประสิทธิภาพมากที่สุดแทน

อย่างไรก็ตามแม้การ overclock ด้วยวิธีนี้จะไม่เสี่ยงต่อความเสียหาย แต่ก็ยังคงมีความเสียหายต่อการบู๊ตไม่ได้ ดังนั้นจึงควรศึกษาดูก่อนว่าเมนบอร์ดนี้มีความสามารถที่จะทำให้การบู๊ตกลับขึ้นมาใหม่เมื่อมีการตั้งค่าผิดพลาดไปหรือไม่ (ซึงเป็นคุณสมบัติหนึ่งที่สำคัญของเมนบอร์ดที่เหมาะสมสำหรับการ overclock แต่ไม่มีมากับทุกบอร์ด) ถ้าไม่มีก็จะต้องศึกษาในเรื่องของการเคลียร์ค่าของ CMOS ให้ดีๆดูว่าล้างได้ง่ายๆโดยเพียงแค่สลับจัมเปอร์หรือไม่ ไม่เช่นนั้นแล้วก็ไม่ควรจะเสี่ยงที่จะ overclock จนมากเกินไป

Overclock คืออะไร

ก่อนที่จะ overclock มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า oveclock คืออะไร และมีแนวทางอย่างไร การ overclock คือ การทำให้อุปกรณ์ทำงานที่ความเร็วสูงกว่ามาตรฐานที่ผู้ผลิตกำหนด ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การทำงานเต็มประสิทธิภาพตามที่ได้ดูกันมาแล้วในหัวข้อที่แล้ว การ overclock อาจจะกระทำกีบซีพียู RAM การ์ดจอ บัสสำหรับรับส่งข้อมูล ซึ่งอาจจะทำเฉพาะบางส่วนหรือทั้งหมดรวมกันก็ได้ โดยการเร่งความเร็วให้สูงขึ้นนี้อาจจะต้องทำร่วมกันกับการเพิ่มแรงดันไฟฟ้า เพื่อเพิ่มความเร็วให้มากยิ่งขึ้นไปอีกด้วย สิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดในการ overclock ก็คือ ความร้อนที่เกิดมากขึ้น และทำให้อุปกรณ์เหล่านั้นอาจจะต้องทำงานที่อุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งเสี่ยงต่อความเสียหาย หรือทำให้อายุการใช้งานสั้นลง การ overclock จึงควรจะกระทำควบคู่ไปกับการปรับปรุงการระบายความร้อนให้ดีขึ้นด้วย

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 10

ทิศทางของเมนบอร์ด

วิธีสังเกตุMainboardว่าทางไหนทิศเหนือทางไหนทิศใต้แต่ละทิศทำหน้าที่อะไรโดยทั่วไปแล้ว Northbridge คือชิพที่ทำหน้าที่ควบคุมการติดต่อระหว่าง CPU, RAM, AGP หรือ PCI Express และ Southbridge(ยกเว้น CPU รุ่นใหม่ ๆ บางตัวที่รวมการทำงานบางส่วนเข้าไปใน CPU แล้ว)Northbridges บางตัวก็ฝัง Video controllers เข้าไปด้วยเลยซึ่งคือ "การ์ดจอออนบอร์ด" ที่มักจะเรียกกันบ่อยส่วน Southbridge คือชิพจัดการ input/output (I/O) เช่น USB, Serial, audio, Integrated Drive Electronics (IDE), PCI, ISA

ทิศเหนือ ( Northern Bridge )
จากแผนภาพข้างบนจะเห็นว่า อุปกรณ์ที่เข้ามาต่อกับ VT82C589AT โดยตรงได้แก่ Host Master หรือซีพียู (ในคอมพิวเตอร์ ถือว่าตัวที่ทำหน้าที่เป็นตัวหลักในการควบคุมการประมวลผลคือซีพียู) และ VGA Card หรือ AGP Card หน่วยความจำหลัก และหน่วยความจำแคช (Static RAM) และ Slot สำหรับต่ออุปกรณ์ต่างๆ ที่ต่อผ่าน PCI Bus ทั้งหมดนั้นต้องถูกควบคุมผ่านสะพานทิศเหนือ สังเกตได้ว่า Northern Bridge นั้นเป็น Chipset หลัก ที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์หลักๆ ของคอมพิวเตอร์ การเรียกชื่อ Chipset นี้จะเรียกเป็นชื่อที่ผู้ผลิตตั้งขึ้นมาเอง อย่างเช่น VIA เรียก Chipset ข้างบนว่า MVP3 แต่ถ้าเป็นกรณีของ Intel จะเรียกเฉพาะชื่อย่อ ถ้าหากสังเกตที่ตัว Chipset จะมีโค๊ดหรือรหัสยาวหลายตัว เช่น FW82443LX แต่ Intel เรียกว่า 440LX เท่านั้น

ทิศใต้ ( Southern Bridge )
ควบคุมอุปกรณ์ต่อพ่วง (Peripheral Devices) Harddisk, CD-ROM Drive , USB และ ACPI Controller (ดูแผนภาพประกอบ) รวมทั้งควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ที่ต่อเชื่อมกับ ISA Bus ด้วย หน้าที่เพิ่มอีกอย่างหนึ่งของ Southern Bridge คือเป็นตัวควบคุม Power Management ControllersABIT IP35 PRO OFF LIMITS เป็นเมนบอร์ดที่รองรับการทำงานของซีพียูซ็อกเก็ต LGA775 สามารถรองรับการทำงานของซีพียูที่ใช้ FSB ตั้งแต่ 800MHz 1066MHz ไปจนถึง 1333MHz ซึ่งหมายความว่าซีพียูที่จะนำมาใช้กับเมนบอร์ดรุ่นนี้ก็จะต้องเป็นรุ่นที่ใหม่อยู่สักหน่อยเพราะต้องใช้ FSB ที่มีความเร็ว 800MHz ขึ้นไปทางด้านหน่วยความจำเมนบอร์ดรุ่นนี้ยังคงใช้หน่วยความจำแบบ DDR2 โดยรองรับหน่วยความจำได้สูงสุดถึง 8GB พร้อมทั้งรองรับการทำงานในแบบ Dual Channel สำหรับความเร็วของหน่วยความจำที่จะนำมาใช้กับเมนบอร์ดรุ่นนี้ก็เริ่มต้นที่ DDR2-667 และ DDR2-800ชิปเซต P35 ที่ใช้นั้นจะรองรับการทำงานของกราฟิกการ์ดแบบ CrossFire ด้วย และบนเมนบอร์ดรุ่นนี้ก็มีสล๊อต PCI-Express x16 มาให้ถึงสองช่อง เพื่อให้เราสามารถใส่กราฟิกการ์ดของ ATi ที่รองรับเทคโนโลยี CrossFire ได้ และถ้าสังเกตดูจะเห็นว่าระยะห่างของสล๊อต PCI-Express x16 ทั้งสองช่องก็มีการเว้นระยะไว้พอสมควร ทำให้สามารถติดตั้งกราฟิกการ์ดที่มีฮีตซิงค์ใหญ่ๆ ได้อย่างสบายชุดระบายความร้อนของเมนบอร์ดรุ่นนี้ก็ถือว่ามีมาอย่างครบสูตรไม่ว่าจะเป็นส่วนของชิปเซตทั้งนอร์ธบริดจ์เซาธ์บริดจ์และส่วนของภาคจ่ายไฟของซีพียู โดยเฉพาะฮีตซิงค์็ตรงชิปนอร์ธบริดจ์นั้นมีขนาดใหญ่โตพอสมควรทำให้เราไม่ต้องกังวลเรื่องความร้อนเมื่อทำการโอเวอร์คล๊อก FSB ไปที่ความเร็วสูงๆ เพราะเมื่อเราทำการปรับ FSB ไปสูงๆ นั้นเราก็อาจจะต้องทำการเพิ่มแรงดันให้กับชิปนอร์ธบริดจ์ด้วยเหมือนกันนอกเหนือไปจากคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับการโอเวอร์คล็อกแล้ว เมนบอร์ดรุ่นนี้ก็ยังมีคุณสมบัติที่น่าสนใจอีกหลายอย่างเช่น มีพอร์ต LAN จำนวนสองช่อง มี eSATA จำนวนสองช่อง มีสวิตช์สำหรับเคลียร์ไบออสอยู่ทางด้านหลัง ซึ่งทำให้เราไม่ต้องเปิดฝาเคสเวลาที่ต้องการเคลียร์ค่าในไบออสเป็นต้นMainboard1. ชุดชิพเซ็ต ชุดชิพเซ็ตเป็นเสมือนหัวใจของเมนบอร์ดอีกที่หนึ่ง เนื่องจากอุปกรณ์ตัวนี้จะมีหน้าที่หลักเป็นเหมือนทั้ง อุปกรณ์ แปลภาษา ให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ดสามารถทำงานร่วมกันได้ และทำหน้าที่ควบคุม อุปกรณ์ต่างๆ ให้ทำงานได้ตามต้องการ โดยชิพเซ็ตนั้นจะประกอบด้วยชิพเซ็ตนั้นจะประกอบไปด้วยชิพ 2 ตัว คือชิพ System Controller และชิพ PCI to ISA Bridge North Bridge เป็นชิพที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ อุปกรณ์หลักๆ ความเร็วสูงชนิดต่างๆ บนเมนบอร์ดที่ประกอบด้วยซีพียู หน่วยความจำแคชระดับสอง (SRAM) หน่วยความจำหลัก (DRAM) ระบบกราฟิกบัสแบบ AGP และระบบบัสแบบ PCI South Bridge จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกันระหว่างระบบบัสแบบ PCI กับอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีความเร็วในการทำงานต่ำกว่าเช่นระบบบัสแบบ ISA ระบบบัสอนุกรมแบบ USB ชิพคอนโทรลเลอร์ IDE ชิพหน่วยความจำรอมไออส ฟล็อบปี้ดิกส์ คีย์บอร์ด พอร์ตอนุกรม และพอร์ตขนาน 2. หน่วยความจำรอมไบออส และแบตเตอรรี่แบ็คอัพไบออส BIOS (Basic Input Output System) หรืออาจเรียกว่าซีมอส (CMOS) เป็นชิพหน่วยความจำชนิด หนึ่งที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล และโปรแกรมขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ ต้องการพลังงานไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูลไว้ แบตเตอรี่แบ็คอัพ เมื่อแบตเตอรี่แบ็คอัพเสื่อม หรือหมดอายุแล้วจะทำให้ข้อมูลที่คุณเซ็ตไว้ เช่น วันที่ จะหายไปกลายเป็นค่าพื้นฐานจากโรงงาน และก็ต้องทำการเซ้ตใหม่ทุกครั้งที่เปิดเครื่อง3. หน่วยความจำแคชระดับสอง หน่วยความจำแคชระดับสอง เป็นอุปกรณ์ ตัวหนึ่งที่ทำหน้าเป็นเสมือนหน่วยความจำ บัฟเฟอร์ให้กับซีพียู โดยใช้หลักการที่ว่า การทำงานร่วมกับอุปกร์ที่ความเร็วสูงกว่า จะทำให้เสียเวลาไปกับการรอคอยให้อุปกรณ์ ที่มีความเร็วต่ำ ทำงานจนเสร็จสิ้นลง เพราะซีพียูมีความเร็วในการทำงานสูงมาก การที่ซีพียูต้องการข้อมูล ซักชุดหนึ่งเพื่อนำไปประมวลผลถ้าไม่มีหน่วยความจำแคช
เมนบอร์ดแบบรวม หมายถึง เมนบอร์ดที่มีการรวม Integrate หรือรวม Controller ต่างๆไว้ในตัวเมนบอร์ดชุดเดียวกันหรือที่เรียกว่า o­n Board เช่น การ์ดเสียง หรือ Display Adapter ที่อยู่บนตัวบอร์ดเองมักจะเรียกกันว่า เมนบอร์ดแบบ All in o­ne เมนบอร์ดแบบแยก หมายถึง เมนบอร์ดที่มีเพียง Chipset อยู่บนเมนบอร์ดเท่านั้น จะทำงานได้ก็ต่อเมื่อมีการเสียบอุปกรณ์อื่นคือ Integrate หรือ Controller ที่อยู่ในรูปของการ์ด เข้าไปในช่อง Slot บนเมนบอร์ดเช่น การ์ดจอที่ต้องใส่ลงไปใน AGP Slot หรือการใส่การ์ดเสียงลงใน Slot Sound Card


Mainborad asus
P4B-M, เมนบอร์ดชิปเซ็ต i845 ที่มาในรูปแบบ MicroATX มี DIMM 3 slots และสนับสนุนหน่วยความจำ SDRAM PC133, มี AGP 4X 1 slots, PCI 3 slots, CNR 1 slot, USB 4 ports นอกจากนั้นก็จะมีชิปเสียงแบบ 6-channel ของ C-Media รุ่น CMI8738 ซึ่งสนับสนุน SPDIF, LAN controller ของ Realtek รุ่น RTL8100

Mainboard gigabyte
ตัวเมนบอร์ด GIGABYTE GA-965G-DS3 ยังคงใช้ PCB สีฟ้าน้ำทะเลที่เป็นเอกลักษณ์ของเมนบอร์ดซ็อกเกต LGA775 รองรับซีพียูอินเทลทุกตระกูลในปัจจุบัน รวมไปถึงตระกูล Core 2 ที่เป็นตระกูลล่าสุดสล็อตแรม Dual-Channel DDR2 ก็มีมาให้ทั้งหมด 4 สล็อต รองรับความจุรวมสูงสุดที่ 8GBมาดูที่สล็อตต่างๆ บนเมนบอร์ดครับ ที่ถึงแม้ว่าตัวชิปเซ็ทจะเป็นชิปเซ็ทอินทิเกรตกราฟฟิก แต่มันก็ยังคงมีสล็อต PCI Express x16 มาให้มาดูกันที่พอร์ท Serial-ATA บ้าง ที่เมนบอร์ดตัวนี้มีมาให้ทั้งหมด 6 พอร์ทด้วยกัน

Mainborad asrock
ASRock ConRoe1333-D667 มาในฟอร์มแฟคเตอร์ Micro-ATX และใช้ PCB สีฟ้าน้ำทะเล มีการออกแบบเลย์เอาท์ที่ดูเรียบง่ายและค่อนข้างโล่งตามสไตล์เมนบอร์ดราคาประหยัด บนผิว PCB มีการพิมพ์ในส่วนของฟีเจอร์เด่นๆ ของตัวเมนบอร์ดเอาไว้อย่างครบถ้วนซ็อกเกต LGA775 ถูกวางอยู่ในตำแหน่งมาตรฐานสล็อตแรม DDR2 มีมาให้เพียง 2 สล็อต และรองรับเพียงความเร็วพอร์ทเชื่อมต่อด้านหลัง ประกอบไปด้วยพอร์ท PS/2, Parallel, VGA, USB 2.0 จำนวน 4 พอร์ท, RJ-45 ที่รองรับ GbLAN, และ HD Audio 7.1Ch

Mainboard Intel
เมนบอร์ด Intel Desktop Board D5400XS ซึ่งมาในขนาดมาตรฐาน EATX และก็ขอยืนยันอีกครั้งว่า มันคือเมนบอร์ดสำหรับ Desktop จริงๆ ไม่ใช่เมนบอร์ดสำหรับ Serverและส่วนประกอบหลักที่ว่านั่นก็คือที่เห้นอยู่ตรงหน้าในเวลานี้หละครับกับ Intel Core 2 Extreme QX9775 ที่มาในแพลทฟอร์ม LGA-771 แต่เมื่อดูจากตรงนี้แล้ว แทบจะไม่มีอะไรแตกต่างไปจาก LGA-775 เลยใช่ไหมหละครับ แต่อย่างไรก็ตามมันไม่เหมือนกันแน่นอน






Mainboard Ecs
ECS เปิดตัวเมนบอร์ดโฉมใหม่ ECS A780GM-A ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีซีพียูแห่งอนาคตกับ AMD Phenom และความสามารถใหม่ที่รองรับการทำงานร่วมกับซ็อกเก็ต AM2+ กับโปรเซสเซอร์ AMD Phenom ที่ได้รับการออกแบบมาให้เป็นระบบมัลติคอร์หรือควอดคอร์ซึ่งช่วยให้สามารถประมวลผลข้อมูลได้เร็วยิ่งกว่า ไม่ว่าจะเป็นงานสร้างสรรค์ดิจิตอลคอนเทนต์, เอนเตอร์เทรนเมนต์หรือเกมส์
เมนบอร์ด ECS A780GM-A ตัวนี้มีการทำงานอยู่บนชิปเซ็ตตัวใหม่อย่าง AMD 780G ที่รองรับกราฟฟิกออนบอร์ดจาก ATI Radeon HD3200 โดยสามารถรองรับหน่วยความจำได้สูงสุดกับ DDR2-1066 และด้วยเทคโนโลยีใหม่อย่าง PCI-E 2.0 ที่สนับสนุนการทำงานของแอพพลิเคชั่นและการประมวลผลข้อมูลระดับสูง ในการใช้งานได้อย่างคุ้มค่าที่สุด มาพร้อมด้วยรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ USB 2.0 ที่สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดที่ 480 MB/s ซึ่งให้พอร์ตมาใช้งานได้จำนวนมากถึง 12 พอร์ตด้วยกัน รวมทั้งรองรับการใช้งาน Gigabit LAN พร้อมระบบเสียงความคมชัดสูงถึง 8 Channel และสามารถรองรับการใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการ Windows Vista ได้ด้วย

สัปดาห์ที่ 9 วันหยุด

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่8

Scanner
ปัญหาและการแก้ไข
สาเหตุ
ไม่ได้ทำการปลดล็อคตัวล็อคสวิตซ์ที่ทำการยึดชุดลำเลียงหรือ carriage assembly อย่างถูกต้องเหมาะสม


วิธีการแก้ปัญหา
ให้ทำการปลดล็อคตัวเครื่องสแกนเนอร์
เมื่อทำการจ่ายไฟฟ้าเข้าตัวเครื่องสแกนเนอร์ หากชุดลำเลียงหรือ carriage นั้นไม่ได้อยู่ในตำแหน่ง home และตัวล็อคสวิตซ์นั้นอยู่ในตำแหน่งปลดล็อค อาจส่งผลให้ตัวเครื่องสแกนเนอร์นั้นทำงานได้อย่างไม่ถูกต้องเหมาะสมได้
ให้ติดต่อกับทางตัวแทนจำหน่ายหรือทางศูนย์บริการแคนนอนใกล้บ้านท่าน

สาเหตุ
หลังจากต่อแท้งแล้วประมาณ3วันผมลองก๊อปปี้ดูเกิดดำทั้งแผ่นลองเปิดฝาแสกนและสั่งงานดูตัวสแกนเนอร์กับไม่ทำงานเครื่องที่ใช้เป็นเครื่องใหม่แต่ทำไมถึงพังได้

การแก้ไข
ส่งศูนย์แสกนอาจเสีย

สาเหตุ
มักจะมีปัญหา Print หรือว่า Scan มันมักจะตกขอบ(ด้านขวา) ตัวอักษรหายไป ไม่ครบ
หรือว่าบางครั้งเวลา Scan กลางเป็นว่าเหมือนมันจะตัวที่ Scan ออกมามันเหมือนจะย่อกว่าตัวจริงครับ อยากทราบวิธีแก้ครับ

วิธีการแก้ไข
ลูกกลิ้งกระดาษ จับกระดาษไม่อยู่
- เซ็นเซอร์เช็คขอบกระดาษ เสีย, สกปรก ทำให้เช็คขอบกระดาษมาแล้วผิดพลาด


สาเหตุ
ใช้งานเครื่องไม่ได้

วิธีการแก้ไขปัญหา
อาจไม่ได้ลงdriver

สาเหตุ
เปิดเครื่องไม่ติด

วิธีการแก้ไข
สายไฟอาจพังทำให้ไฟไม่เข้า

ปัญหาและการแก้ไขปัญหา

Cd-Rom
1.Cd-Rom บางครั้งอ่านแผ่นไม่ได้

การแก้ไข
ตรวจดูแผ่น CD ว่าสกปรกหรือเปล่า แล้วเอาเข้าไปใหม่

2.บางครั้งเข้า My computer แล้วไม่พบ Cd-Rom

การแก้ไข
ตรวจดูสายไฟใน case ที่ต่อ เข้า Cd-Rom ว่าต่อหรือเปล่า
ตรวจดูสายแพภายในเครื่องด้วยเช่นกัน

3.บางครั้งกดสวิตช์แล้วถาดใส่ CD ไม่เลื่อนออกมา

การแก้ไข
เป็นสายพาน Cd-Rom หย่อนเกิน ควรจะเปลี่ยน
หรืออาจจะใช้เข็มแทงไปในรูด้านหน้าแล้วดึงออกมา

4.ใส่แผ่นไปแล้ว Cd-Rom ไม่อ่านแผ่น

การแก้ไข
ตรวจสอบดูว่าแผ่นที่ใส่ไป เป็น DvD หรือเปล่า เพราะ Cd-Rom อ่าน DvD ไม่ได้
ตรวจดูว่าใส่แผ่นกลับด้านหรือเปล่า

5.Cd-Rom เปิดไม่ได้,ไม่พบ My com , ไฟไม่เข้า ควรทำอย่างไร
ควรส่งซ่อมศูนย์ที่เราซื้อมา หรือ ซื้อใหม่ไปเลย

สัปดาห์ที่ 8 ปริ้นเตอร์ ปัญหาและวิธีการแก้ไข

1 . งานพิมพ์มีรอยขีดเล็กๆ เป็นระยะๆหากคุณสั่งพิมพ์เอกสารออกมาแล้วพบว่ามีรอยขีดเส้นเล็กๆ อยู่ที่ขอบกระดาษด้านใดด้านหนึ่งเป็นระยะๆ ละก็ ให้สันนิษฐานก่อนว่าสาเหตุมาจาก Roller หลักที่อยู่บนเส้นทางเดินกระดาษมีคราบสกปรก ถ้าตรวจแล้วไม่พบให้ลองตรวจสอบที่ตลับโทนเนอร์ว่ามีการชำรุดหรือไม่? บ่อยครั้งที่พื้นผิวของดรัมในโทนเนอร์มีรอยเล็กๆ ทำให้เวลาพิมพ์เอกสารร่องรอยตำหนินั้นจึงติดลงบนกระดาษด้วย อย่าลืมตรวจสอบชนิดของกระดาษที่คุณใช้ด้วยเช่นกัน

2 . ตัวหนังสือที่หายไปบนผืนกระดาษปัญหานี้พบได้บ่อยๆ ครับ งานพิมพ์ที่มีตัวหนังสือหายไปเป็นช่วงๆ หรือฟอนต์ช่วงล่างขาดหายไปเป็นระยะๆ ข้อสันนิษฐานแรกให้มุ่งเป้าไปที่ผงหมึกในตลับอาจกำลังจะหมด หน้าสัมผัสของชุดลำเรียงกระดาษอาจมีคราบสกปรก รวมทั้งตลับโทนเนอร์เองอาจมีเศษผงหมึกเป็นคราบเลอะอยู่ อย่าลืมเช็กดูที่ Printer Properties ว่าคุณไม่ได้อยู่ในโหมดการพิมพ์แบบ Eco Mode ด้วย

3 . มีเส้นทับตัวหนังสือตลอดทั้งแนวปัญหานี้เชื่อว่าหลายคนคงเคยเจอมารบ้าง นั่นคืองานพิมพ์มีเส้นยาวๆ ทับตัวหนังสือตลอดทั้งแนว และบางทีก็ทับตัวหนังสือทุกบรรทัดด้วย สาเหตุให้มุ่งเป้าไปที่ความสกปรกเป็นหลักครับ ตรวจสอบ Roller หลักที่เป็นตัวป้อนกระดาษและตัวที่อยู่ในเส้นทางเดินกระดาษว่ามีคราบสกปรกอยู่หรือไม่? หรือมีรอยขีดข่วนบนพื้นผิวด้วยหรือไม่ และอย่าลืมสำรวจตลับโทนเนอร์ด้วยว่าถูกติดตั้งอย่างถูกต้องหรือลงล็อกดีแล้วหรือยัง?

4 . งานพิมพ์สีซีดจางผิดปกติถ้าบังเอิญคุณสั่งพิมพ์เอกสารออกมาแล้วเห็นว่าสีซีดจากผิดปกติละก็ อันดับแรกตรวจสอบดูว่าคุณตั้งค่าการพิมพ์ในโหมดประหยัดหรือไม่ บางทีอาจมีใครไปปรับเล่น อย่างที่สองตลับหมึกใกล้หมดแล้วหรือยัง ตรงนี้อาจจะเป็นสาเหตุหลักก็ได้ครับ และอย่างที่สามตรวจสอบดรัมว่ามีอะไรไปติดขัดหรือไม่ เพราะถ้าระบบไม่ดูดผงหมึกออกจากดรัมหรือดูดอกไม่ได้ ก็ทำให้งานพิมพ์ออกมามีสีซีดจางแน่ๆ

5 . งานพิมพ์มีสีเข้มเกินกว่าเหตุพอเจอปัญหาหมึกจางไปแล้ว คราวนี้ก็มาลองเจอกับงานพิมพ์ที่มีเส้นเข้มเกินไปดูบ้างครับ สาเหตุหลักๆ ของปัญหานี้มาจาก ส่วนที่สัมผัสกับกระดาษเกินไป ต้องเช็กดูที่ดรัมว่ามีอะไรขัดข้องอยู่หรือไม่ รวมทั้งองค์ประกอบสำคัญอย่างแผงควบคุม Laser Scanner ที่อาจมีปัญหาในระหว่างสั่งพิมพ์ ซึ่งถ้ามีการอ่านค่าผิดเพี้ยนก็อาจมีปริมาณผงหมึกที่มากเกินความจำเป็นถูกส่งออกไปยังแผ่นกระดาษ

6 . ช่องว่างที่หายไปบนหน้ากระดาษบางครั้งคุณอาจเจอกับช่องว่างเล็กๆ ที่หายไปบนภาพ ตัวหนังสือ หรือเส้นต่างๆ ซึ่งบริเวณที่หายไปจะไม่มีหมึกติดอยู่เลย การตรวจสอบแรกให้ดูว่ากระดาษแผ่นนั้นมีความเรียบเสมอกันหรือไม่ หรือเป็นกระดาษพิเศษที่เครื่องพิมพ์ไม่รู้จักหรือเปล่า? ลองสั่งพิมพ์ใหม่ด้วยกระดาษแผ่นใหม่ ถ้ายังไม่หายละก็ ชุด Transfer Roller อาจเกิดขัดข้องหรือมีปัญหาในระหว่างที่สั่งพิมพ์ ตรงนี้อาจจะร้องเรียกช่างมาดูให้ครับ

1. ปัญหาที่เกิดขึ้น => คีย์บอร์ดไฟไม่เข้า
วิธีการแก้ปัญหา => ตรวจสอบดูว่าเสียบขั้วสายถูกต้องหรือไม่ สายขาดหรือไม่ ขั้วเสียบชำรุดหรือไม่
2. ปัญหาที่เกิดขึ้น => กดไม่ติดเลยสักปุ่มแต่มีไฟเข้า
วิธีการแก้ปัญหา => ตรวจสอบดูว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ค้างหรือไม่ ถ้าค้างให้ปิดแล้วเปิดใหม่
3. ปัญหาที่เกิดขึ้น => กดไม่ติดบางปุ่ม
วิธีการแก้ปัญหา => ตรวจสอบดูว่าแป้นพิมพ์ชำรุดเสียหายหรือไม่
4. ปัญหาที่เกิดขึ้น => ปุ่มกดค้าง
วิธีการแก้ปัญหา => ตรวจดูว่ามีสิ่งใดเข้าไปอุดตันบริเวณปุ่มกดหรือไม่
5. ปัญหาที่เกิดขึ้น => กดปุ่มตัวเลขไม่ติด
วิธีการแก้ปัญหา => ตรวจดูว่ามีไฟnum lock ขึ้นหรืไม่ ถ้าไม่ขึ้นให้กดnum lock

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สถานที่ท่องเที่ยว

จังหวัดสุมทรสงคราม



จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นอีกจังหวัดหนึ่ง ที่มีพื้นที่อยู่ ในเขตภาคกลาง ของประเทศไทย โดยจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ใหญ่ เป็นอันดับที่ 76 ของจังหวัดทั้งหมดในประเทศไทย กับพื้นที่มากกว่า 416 ตารางกิโลเมตร
ลักษณะพื้นที่ โดยทั่วไปของ จังหวัดสมุทรสงคราม จะเป็นที่ราบลุ่ม อีกทั้ง ยังเป็นจังหวัดที่ มีทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ อย่างยิ่งเนื่องจาก มีสภาพแวดล้อมติดกับ ชายฝั่งทะเลทางด้านอ่าวไทย และยังมีแม่น้ำกลองไหลผ่าน ดังคำขวัญของจังหวัดที่ว่า “เมืองหอยหลอด ยอดลิ้นจี่ มีอุทยาน ร.2 แม่กลองไหลผ่าน นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม”
จังหวัดสมุทรสงคราม ไม่มีหลักฐาน ที่ปรากฏชัดเจนว่า มีการก่อสร้างเมืองมา ตั้งแต่สมัยใด แต่นับได้ว่าเป็นเมือง ที่เมื่อครั้งอดีตนั้น มีความเจริญรุ่งเรือง ในฐานะ เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งในเขตการปกครอง ของจังหวัดราชบุรี โดยจะเรียก เมืองสมุทรสงครามว่า “เมืองสวนนอก” จนกระทั่งเมือปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา จังหวัดสมุทรสงคราม จึงได้มีการแยกตัวออกจาก จังหวัดราชบุรี โดยมีชื่อเรียกว่า “เมืองแม่กลอง” ภายหลังจึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดสมุทรสงคราม มาจนถึงทุกวันนี้


อาณาเขต ของจังหวัดสมุรสงคราม
ทิศเหนือ มีพื้นที่ติดต่อกับ จังหวัดราชบุรี
ทิศใต้ มีพื้นที่ติดต่อกับ จังหวัดเพชรบุรี และชายฝั่งทะเลอ่าวไทย
ทิศตะวันออก มีพื้นที่ติดต่อกับ อ่าวแม่กลอง (เป็นส่วนหนึ่งของชายฝั่งทะเลอ่าวไทย)
ทิศตะวันตก มีพื้นที่ติดต่อกับ จังหวัดราชบุรี


ตลาดน้ำอัมพวา

จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นตลาดริมคลอง ที่มีพื้นที่ตั้งอยู่ ใกล้กับวัดอัมพวันเจติยาราม หากนักท่องเที่ยว ที่เดินมาท่องเที่ยวที่ ตลาดน้ำอัมพวา สามารถจอดรดได้ที่ วัดอัมพวันเจติยาราม โดยตลาดน้ำอัมพวา จะเปิดในช่วงเย็น ตั้งแต่ เวลา 16.00-20.00 น. ในวันศุกร์ วันเสาร์ และวันอาทิตย์
นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยว ที่ตลาดน้ำอัมพวา จะได้รับ ความประทับใจต่างๆ มากมายเช่น
ได้เลือกซื้อหาสินค้า ต่างๆ มากมายทั้ง ของที่ระลึก หรือแม้แต่ของกินของใช้ กลับบ้าน ในราคาที่เป็นกันเอง พ่อค้าแม่ค้า ก็บริการเป็นกันเอง
นั่งเรือชมวิถีชีวิต ของชาวบ้านที่มีความผูกพันกับสายน้ำ ที่ถือได้ว่าเป็นเส้นทางแห่งชีวิต ของชาวบ้านในแถบภูมิภาคแห่งนี้
พายเรือชม ความสวยงามของ หิ่งห้อย ที่รวมตัวกันอยู่อย่างมากมาย ตามชายฝั่งแม่น้ำกลอง ซึ่งสร้าง บรรยากาศที่โรแมนติกเป็นอย่างมาก


วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่6

ซ่อมคอมพิวเตอร์
ใส่ ram ขนาด 256Mb
ใส่ Power Supply
ใส่ harddisk
ใส่Battery Bios
ประกอบเป็น case

สิ่งที่มีในคอมพิวเตอร์
1.Mainboard
2.Ram
3.Harddisk
4.Power Supply
5.ช่อง Usb
6.CPU
7.พัดลม CPU

ปัญหาที่เกิดขึ้น
ไม่มี Battery Bios
Power Supply ไม่ติด

วิธีแก้ปัญหา
หา Battery Bios มาเปลี่ยน
นำ Power Supply มาเปลี่ยน

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่5(ต่อ)

เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้แรมในการเก็บโปรแกรมและข้อมูลระหว่างการประมวลผล คุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งของแรมคือความเร็วที่ใช้เข้าหนึ่งตำแหน่งต่างๆ ในหน่วยความจำมีค่าเท่าๆ กัน ซึ่งต่างจากเทคโนโลยีอื่นบางอย่างซึ่งต้องใช้เวลารอกว่าที่บิตหรือไบต์จะมาถึง

ระบบแรกๆ ที่ใช้หลอดสุญญากาศทำงานคล้ายกับแรมในสมัยปัจจุบันถึงแม้ว่าอุปกรณ์จะเสียบ่อยกว่ามาก หน่วยความจำแบบแกนเฟอร์ไรต์ (core memory) ก็มีคุณสมบัติในการเข้าถึงข้อมูลแบบเดียวกัน แนวความคิดของหน่วยความจำที่ทำจากหลอดและแกนเฟอร์ไรต์ก็ยังใช้ในแรมสมัยใหม่ที่ทำจากวงจรรวม

หน่วยความจำหลักแบบอื่นมักเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ที่มีเวลาเข้าถึงข้อมูลไม่เท่ากัน เช่น หน่วยความจำแบบดีเลย์ไลน์ (delay line memory) ที่ใช้คลื่นเสียงในท่อบรรจุปรอทในการเก็บข้อมูลบิต หน่วยความจำแบบดรัม ซึ่งทำงานใกล้เคียงฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบัน เป็นข้อมูลในรูปของแม่เหล็กในแถบแม่เหล็กรูปวงกลม

แรมหลายชนิดมีคุณสมบัติ volatile หมายถึงข้อมูลที่เก็บจะสูญหายไปถ้าปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ แรมสมัยใหม่มักเก็บข้อมูลบิตในรูปของประจุไฟฟ้าในตัวเก็บประจุ ดังเช่นกรณี ไดนามิคแรม หรือในรูปสถานะของฟลิปฟล็อป ดังเช่นของ สแตติกแรม

ปัจจุบันมีการพัฒนาแรมแบบ non-volatile ซึ่งยังเก็บรักษาข้อมูลถึงแม้ว่าไม่มีไฟเลี้ยงก็ตาม เทคโนโลยีที่ใช้ ก็เช่น เทคโนโลยีนาโนทิวจากคาร์บอน (carbon nanotube) และ ปรากฏการณ์ magnetic tunnel

ในฤดูร้อนปี พ.ศ. 2546 มีการเปิดตัวแรมแบบแม่เหล็ก (Magnetic RAM, MRAM) ขนาด 128 Kib ซึ่งผลิตด้วยเทคโนโลยีระดับ 0.18 ไมครอน หัวใจของแรมแบบนี้มาจากปรากฏการณ์ magnetic tunnel ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2547 บริษัท อินฟินิออน (Infineon) เปิดตัวต้นแบบขนาด 16 Mib อาศัยเทคโนโลยี 0.18 ไมครอนเช่นเดียวกัน

สำหรับหน่วยความจำจากคอร์บอนนาโนทิว บริษัท แนนเทโร (Nantero) ได้สร้างต้นแบบขนาน 10 GiB ในปี พ.ศ. 2547

ในเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถจองแรมบางส่วนเป็นพาร์ติชัน ทำให้ทำงานได้เหมือนฮาร์ดดิสก์แต่เร็วกว่ามาก มักเรียกว่า แรมดิสค์ (ramdisk)


ประเภทของแรม

  • SRAM (Static RAM)
  • NV-RAM (Non-volatile RAM)
  • DRAM (Dynamic RAM)
  • Dual-ported RAM
  • SDRAM

รูปแบบของโมดูลแรม

โมดูลแรมแบบต่างๆ จากบนลงล่าง: DIP, SIPP, SIMM 30 พิน, SIMM 72 พิน, DIMM และ DDR DIMM

แรมสารกิ่งตัวนำมักผลิตในรูปของวงจรรวมหรือไอซี ไอซีมักจะนำมาประกอบในรูปของโมดูลสำหรับเสียบ มาตรฐานโมดูลแบบต่างๆ ได้แก่

  • Single in-line Pin Package (SIPP)
  • Dual in-line Package (DIP)
  • Single in-line memory module (SIMM)
  • Dual in-line memory module (DIMM)
  • โมดูลแรมของบริษัท แรมบัส (Rambus) จริงๆ แล้วคือ DIMM แต่มักเรียกว่า RIMM เนื่องจากสล็อตที่เสียบแตกต่างจากแบบอื่น
  • Small outline DIMM (SO-DIMM) เป็น DIMM ที่มีขนาดเล็ก ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แล็บท็อป มีรุ่นขนาด 72 (32 บิต), 144 (64 บิต), 200 (72 บิต) พิน
  • Small outline RIMM (SO-RIMM)

ฮาร์ดดิสก์ (อังกฤษ: hard disk) หรือ จานบันทึกแบบแข็ง (ศัพท์บัญญัติ) คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับมาเธอร์บอร์ด (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ของบริษัท Apple ที่เป็นที่รู้จักน้อยกว่า รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง

โดยในปี 2008 ได้มีการพัฒนาเป็น Hybrid drive และ SSD

ประวัติ

ฮาร์ดดิสก์ที่มีกลไกแบบปัจจุบันถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 (1956) โดยนักประดิษฐ์ยุคบุกเบิกแห่งบริษัทไอบีเอ็ม เรย์โนล์ด จอห์นสัน ซึ่งในขณะนั้น ฮาร์ดดิสก์มีขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 20 นิ้ว มีความจุเพียงระดับเมกะไบต์เท่านั้น «โดยใช้หน่วยการเปรียบเทียบเป็น บระดับจิกะไบต์ในปัจจุบัน ซึ่ง 1,024MB = 1GB» ในตอนแรกใช้ชื่อเรียกว่า 'ฟิกส์ดิสก์ fixed disk หรือจานบันทึกที่ติดอยู่กับที่ ในบริษัท IBM เรียกว่า วินเชสเตอร์ส Winchesters

ต่อมาภายหลังจึงเรียกว่า ฮาร์ดดิสก์ จานบันทึกแบบแข็ง เพื่อจำแนกประเภทออกจาก ฟลอปปี้ดิสก์ จานบันทึกแบบอ่อน

ตั้งแต่เข้าสู่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา ฮาร์ดดิสก์สามารถพบได้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ไม่เฉพาะภายในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ อีกด้วย เช่น เครื่องเล่นเอ็มพีทรี, เครื่องบันทึกภาพดิจิทัล, กล้องถ่ายรูป, คอมพิวเตอร์ขนาดพกพา PDA จนกระทั่งภายใน โทรศัพท์มือถือ บางรุ่นตั้งแต่ภายในปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมาเช่นยี่ห้อ (โนเกีย และ ซัมซุง สองบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือรายแรกที่จำหน่ายโทรศัพท์มือถือที่มีฮาร์ดดิส

ขนาดและความจุ

ความจุของฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปในปัจจุบันนั้นมีตั้งแต่ 20 จิกะไบต์ ถึง 1.5 เทระไบต์

  • ขนาดความหนา 8 inch: 9.5 นิ้ว×4.624 นิ้ว×14.25 นิ้ว (241.3 มิลลิเมตร×117.5 มิลลิเมตร×362 มิลลิเมตร)
  • ขนาดความหนา 5.25 inch: 5.75 นิ้ว×1.63 นิ้ว×8 นิ้ว (146.1 มิลลิเมตร×41.4 มิลลิเมตร×203 มิลลิเมตร)

ขนาดฮาร์ดดิสในอดีต

รุ่นและขนาดฮาร์ดดิสตั้งแต่ 8″ 5.25″ 3.5″ 2.5″ 1.8″ และ 1″

ปัจจุบันภายในปี 2551 มีประเภทของฮาร์ดดิสก์ต่อไปนี้

  • ขนาดความหนาขนาดความหนา 3.5 นิ้ว = 4 นิ้ว×1 นิ้ว×5.75 นิ้ว (101.6 มิลลิเมตร×25.4 มิลลิเมตร×146 มิลลิเมตร) = 376.77344cm³

เป็นฮาร์ดดิสก์ สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ Desktop PC หรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ Server ความเร็วในการหมุนจาน 10,000 7,200 5,400 RPM ตามลำดับ โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่ 80 GB ถึง 1 TB

  • ขนาดความหนา 2.5 = 2.75 นิ้ว× 0.374–0.59 นิ้ว×3.945 นิ้ว (69.85 มิลลิเมตร×9.5–15 มิลลิเมตร×100 มิลลิเมตร) = 66.3575cm³-104.775cm³

นิ้วเป็นฮาร์ดดิสก์ สำหรับคอมพิวเตอร์พกพา Notebook , Laptop ,UMPC,Netbook, อุปกรณ์มัลติมีเดียพกพา ความเร็วในการหมุนจาน 5,400 RPM โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่ 60 GB ถึง 320 GB

  • ขนาดความหนา1.8 นิ้ว: 54 มิลลิเมตร×8 มิลลิเมตร×71 มิลลิเมตร= 30.672cm³
  • ขนาดความหนา1 นิ้ว: 42.8 มิลลิเมตร×5 มิลลิเมตร×36.4 มิลลิเมตร
  • ขนาดความหนา0.85 นิ้ว: 24 มิลลิเมตร×5 มิลลิเมตร×32 มิลลิเมตร

ยิ่งมีความจุมาก ก็จะยิ่งทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยความต้องการของตลาดในปัจจุบันที่ต้องการแหล่งเก็บข้อมูลที่มีความจุในปริมาณมาก มีความน่าเชื่อถือในด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และไม่จำเป็นต้องต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่ใหญ่กว่าอันใดอันหนึ่งได้นำไปสู่ฮาร์ดดิสก์รูปแบบใหม่ต่างๆ เช่นกลุ่มจานบันทึกข้อมูลอิสระประกอบจำนวนมากที่เรียกว่าเทคโนโลยี RAID รวมไปถึงฮาร์ดดิสก์ที่มีลักษณะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย เพื่อที่ผู้ใช้จะได้สามารถเข้าถึงข้อมูลในปริมาณมากได้ เช่นฮาร์ดแวร์ NAS network attached storage เป็นการนำฮาร์ดดิสก์มาทำเป็นเครื่อข่ายส่วนตัว และระบบ SAN storage area network เป็นการนำฮาร์ดดิสก์มาเป็นพื้นที่ส่วนกลางในการเก็บข้อมูล

หลักการทำงานของฮาร์ดดิสก

ภายในฮาร์ดิสก์

  • หลักการบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ไม่ได้แตกต่างจากการบันทึกลงบนเทปคาสเซ็ทเลย เพราะทั้งคู่ต้องใช้สารบันทึกคือสารแม่เหล็กเหมือนกัน สารแม่เหล็กนี้สามารถลบหรือเขียนได้ใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยเมื่อบันทึกหรือเขียนไปแล้ว มันสามารถจำรูปแบบเดิมได้เป็นเวลาหลายปี ความแตกต่างระหว่างเทปคาสเซ็ทกับฮาร์ดดิสก์มีดังนี้
    • สารแม่เหล็กในเทปคาสเซ็ท ถูกเคลือบอยู่บนแผ่นพลาสติกขนาดเล็ก เป็นแถบยาว แต่ในฮาร์ดดิสก์ สารแม่เหล็กนี้ จะถูกเคลือบอยู่บนแผ่นแก้ว หรือแผ่นอะลูมิเนียมที่มีความเรียบมากจนเหมือนกับกระจก
    • สำหรับเทปคาสเซ็ท ถ้าคุณต้องการเข้าถึงข้อมูลในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ก็จะต้องเลื่อนแผ่นเทปไปที่หัวอ่าน โดยการกรอเทป ซึ่งต้องใช้เวลาหลายนาที ถ้าเทปมีความยาวมาก แต่สำหรับฮาร์ดดิสก์ หัวอ่านสามารถเคลื่อนตัวไปหาตำแหน่งที่ต้องการในเกือบจะทันที
    • แผ่นเทปจะเคลื่อนที่ผ่านหัวอ่านเทปด้วยความเร็ว 2 นิ้วต่อวินาที (5.08 เซนติเมตรต่อวินาที) แต่สำหรับหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ จะวิ่งอยู่บนแผ่นบันทึกข้อมูล ที่ความเร็วในการหมุนถึง 3000 นิ้วต่อวินาที (ประมาณ 170 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
    • ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เก็บอยู่ในรูปของโดเมนแม่เหล็ก ที่มีขนาดเล็กมากๆ เมื่อเทียบกับโดเมนของเทปแม่เหล็ก ขนาดของโดเมนนี้ยิ่งมีขนาดเล็กเท่าไร ความจุของฮาร์ดดิสก์จะยิ่งมีขนาดเพิ่มขึ้นเท่านั้น และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในเวลาสั้น
  • เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะปัจจุบันจะมีความจุของฮาร์ดดิสก์ประมาณ 60 ถึง 200 จิกะไบต์ ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์ เก็บอยู่ในรูปของไฟล์ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่เรียกว่า ไบต์ : ไบต์คือรหัส แอสกี้ ที่แสดงออกไปตัวอักษร รูปภาพ วีดีโอ และเสียง โดยที่ไบต์จำนวนมากมาย รวมกันเป็นคำสั่ง หรือโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ มีหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์อ่านข้อมูลเหล่านี้ และนำข้อมูลออกมา ผ่านไปยังตัวประมวลผล เพื่อคำนวณและแปรผลต่อไป
  • เราสามารถคิดประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ทางคือ
    • อัตราการไหลของข้อมูล (Data rate) คือจำนวนไบต์ต่อวินาที ที่หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์สามารถจะส่งไปให้กับซีพียูหรือตัวประมวลผล ซึ่งปกติมีอัตราประมาณ 5 ถึง 40 เมกะไบต์ต่อวินาที
    • เวลาค้นหา (Seek time) เวลาที่ข้อมูลถูกส่งไปให้กับซีพียู โดยปกติประมาณ 10 ถึง 20 มิลลิวินาที

การเก็บข้อมูล

การเก็บข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์

ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์จะอยู่บนเซกเตอร์และแทร็ก แทร็กเป็นรูปวงกลม ส่วนเซกเตอร์เป็นเสี้ยวหนึ่งของวงกลม อยู่ภายในแทร็กดังรูป แทร็กแสดงด้วยสีเหลือง ส่วนเซกเตอร์แสดงด้วยสีแดง ภายในเซกเตอร์จะมีจำนวนไบต์คงที่ ยกตัวอย่างเช่น 256 ถึง 512 ขึ้นอยู่กับว่าระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์จะจัดการแบ่งในลักษณะใด เซกเตอร์หลายๆ เซกเตอร์รวมกันเรียกว่า คลัสเตอร์ (Clusters) ขั้นตอน ฟอร์แมต ที่เรียกว่า การฟอร์แมตระดับต่ำ (Low -level format ) เป็นการสร้างแทร็กและเซกเตอร์ใหม่ ส่วนการฟอร์แมตระดับสูง (High-level format) ไม่ได้ไปยุ่งกับแทร็กหรือเซกเตอร์ แต่เป็นการเขียน FAT ซึ่งเป็นการเตรียมดิสก์เพื่อที่เก็บข้อมูลเท่าน



ประวัติและความเป็นมาของซีพียู

หัวใจในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์คือ CPU เพราะการประมวล การสั่งการให้อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานก็ขึ้นอยู่กับ CPU นี่แหละ ถ้า CPU ทำงานได้เร็ว เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็พลอยทำงานเร็วไปด้วย และในปัจจุบันนี้ การที่จะบอกประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็บอกถึงตัว CPU ที่ใช้นี่แหละ เป็นตัวบอก บทความนี้จะเป็นนำเรื่องเก่า มาเล่าให้ฟัง คือจะนำเรื่องของ CPU ตั้งแต่ยุดเริ่มแรกของเครื่องคอมพิวเตอร์ตระกูล PC จนมาถึงปัจจุบัน ในรูปแบบเบาๆ แบบเล่าสู่กันฟังนะครับ 8086, 8088 CPU สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ ตระกูล PC ตัวแรกเป็นผลผลิตของบริษัท Intel ยักษ์ใหญ่มือวางอันดับหนึ่งของวงการ CPU นั้นเอง โดยบริษัท IBM นำมาใช้กับเครื่อง PC ในตระกูล IBM PC หรือที่รู้จักกันในนาม XT และ CPU ตัวนี้ก็เป็นต้นแบบของ CPU ในสถาปัตยกรรม X86 ที่ Intel หรือแม้บริษัทอื่น นำมาผลิต CPU ที่ใช้กับเครื่อง PC จนถึงปัจจุบันนี้ (ยกเว้นก็แต่ตัว Intel เอง ซึ่งผลิต CPU ขนาด 64 บิต ที่ไม่ใช้สถาปัตยกรรม X86) 8088, 8086 เป็น CPU ที่ประมวลผลทีละ 8 บิต มีชุดคำสั่ง 76 คำสั่ง ระบบปฏิบัติการที่สนับสนุน CPU ตัวนี้ก็คือ DOS อันเลื่องชื่อของไมโครซอฟท์ นั้นเอง 80286 ยุคเริ่มต้น CPU ขนาด 16 บิตเริ่มจาก CPU ตัวนี้แหละ โดยมีโหมดการทำงานอยู่ 2 โหมด คือ Standard mode และ Protected mode ( ระบบปฏิบัติการ Windows ที่ทำงานบนเครื่อง 286 จะทำงานใน Standard mode) 80386 เป็น CPU เบอร์แรกที่ประมวลผลทีละ 32 บิต ทำให้สามารถจัดการหน่วยความจำได้ดีกว่า 80286 มาก แม้ว่า 80386 จะประมวลผลได้คราวละ 32 บิตก็ตาม แต่อุปกรณ์ต่างๆ ในเวลานั้นยังเป็นแบบ 16 บิตอยู่มาก Intel จึงได้ออกแบบ 80386SX ที่สามารถนำไปใช้กับเมนบอร์ดที่ออกแบบมาสำหรับ 80286 ได้ทันที นอกจากนี้ 80386SX ยังมีราคาถูกว่า 80386 อยู่มาก 80486 ความจริงก็คือ 80386 รุ่นปรับปรุงนั้นเองโดยได้เพิ่มตัวประมวลผลทางคณิตศาสตร์ (Math co-pocessor) เพิ่มหน่วยความจำ Cache ภายใน CPU ทำให้ 80486 ทำงานได้เร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่เนื่องจากว่า 80486 ที่มี math co-processor มีราคาค่อนข้างสูง Intel จึงได้ออก CPU 80486SX ซึ่ง ได้ถอด math co-processor ออก ( ตัว 80486 ที่มี math co-prossor เรียกว่า 80486DX) ทำให้มีราคาถูกลง ตัว 80486 เองได้มีการปรับปรุงขึ้นมาอีกขั้นขึ้นการทำงานในลักษณะที่เรียกว่า Clock doubling คือ เป็นการเพิ่ม Speed ของ Clock ให้สูงขึ้น เช่น 80486DX/2 ทำงาน Clock speed 40/50/60 MHz 80486DX4 ทำงานที่ Clock speed 100 MHz เป็นต้น จากการที่ Clock speed สูงขึ้น บวกกับการที่ได้เพิ่มอุปกรณ์บางอย่างเช่น หน่วยความจำแคชที่มากขึ้น ทำให้ CPU รุ่นนี้ได้รับความนิยมอยู่เป็นเวลานาน และทำให้มีบริษัทอื่น นอกจาก Intel เริ่มเข้ามาผลิต CPU สำหรับ PC ออกมาแข่งขันกัน ได้แก่ Cylix และ AMD เป็นต้น Pentium เนื่องจากเริ่มมีบริษัทอื่นๆ ผลิต CPU สำหรับ PC ออกมาแข่งขันกับ Intel จึงทำให้ CPU รุ่นถัดมาของ Intel ไม่ใช้ชื่อเรียกเป็นหมายเลข ใช้เป็นชื่ออื่นแทน หลายท่านคงมีความเข้าใจ Pentium เป็น CPU ขนาด 64 บิต แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ เนื่องจาก Pentium จะออกแบบมาคล้ายๆ กับใช้ 80486 สองตัวทำงานคู่ขนานกัน ทำให้กลไกการทำงานทั้งภายในและนอกตัว CPU เป็น 64 บิตไปโดยปริยาย CPU ของค่ายอื่นที่ออกมาในช่วงนี้ ก็มี AMD K5, Cylix 6x86 Pentium MMX, AMD K6 3DNOW, Cylix 6X86MX ก็คือ Pentium ที่เพิ่มความสามารถในเชิงมัลติมิเดีย ( MMX สำหรับ Pentium, 3DNOW สำหรับ AMD) และนอกจากนี้ยังได้เพิ่ม หน่วยความจำแคช Level 2 เข้ามาในตัว CPU มากน้อยแตกต่างกันในแต่ละค่าย Celeron, PentiumII, Pentium III จะมีการเพิ่มส่วนขยาย MMX ออกไป ปรับสถาปัตยกรรมภายในใหม่ ทำให้มีการประมวลผลในเชิงจุดทศนิยมได้ละเอียดและถูกต้องมากขึ้น เพิ่มความสามารถในเชิง 3 มิติเข้าไป ส่วน Celeron จะมีคุณสมบัติอื่นๆ เหมือนกับ Pemtium เพียงแต่ตัด L2 ( หน่วยความจำแคช ระดับ 2) ออกไปให้น้อยกว่า หรือไม่มีเลยในบางรุ่น ส่วน CPU ของค่ายอื่นๆ ก็ปรับปรุงขึ้นเป็น AMD K6, AMD K7 ตามลำดับ นอกจากนี้ CPU ในตระกูลเหล่านี้ยังสามารถทำงานกับ Clock speed สูงๆ ได้ 600 - 700 MHz เลยที่เดียว (แล้วแต่รุ่นของ CPU)



เมาส์
เมาส์เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมใน
ปัจจุบันมีแนวโน้มมาทางด้าน GUI (Graphic User Interface) มากสำหรับการติดต่อ
สื่อสารกับผู้ใช้งาน เพราะไม่ต้องเรียนรู้การสั่งงานโปรแกรม และในบรรดาผู้ผลิตเมาส์ บริษัทไมโครซอฟต์ยึดครองตลาด ได้มากกว่าใคร ซึ่งเป็นผลให้เมาส์และไดรเวอร์เมาส์
ของไมโรซอฟต์กลายเป็นมาตรฐานผู้ผลิตรายอื่นจึงต้องผลิตเมาส์ที่อมแพตทิเบิ้ล
กับเมาส์ของไมโครซอฟต์
ก่อนจะกล่าวถึงคุณสมบัติต่างๆ ของเมาส์ก็จะกล่าวถึงประวัติของเมาส์กันก่อน
เมาส์ตัวแรกได้รับการพัฒนาขึ้นเมื่อ 25 ปีที่แล้วต้นแบบทำด้วยไม้ และมีปุ่มกดเพียง
ปุ่มเดียว ดังรูป

การพัฒนาเมาส์เริ่มที่สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ดในปี ค.ศ. 1963 โดย Doug Engelbart
เขาพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ Augment ของเขา แนวความคิดเรื่องเมาส์
ของ Engelbart เป็นอิทธิพลผลักดันให้เกิดการพัฒนาเมาส์ที่ศูนย์วิจัยเซรอคซ์สตาร์
แอปเปิ้ล ลิซ่า แมคอินทอช ในเวลาต่อมานั่นเอง เมาส์ของ Engelbart นั้นจัดเป็น
อุปกรณ์ไฟฟ้าสัญญาณอะนาลอกแบบง่ายๆ
ส่วนภายในตัวเมาส์ประกอบด้วยล้อเลื่อนเหล็กสองล้อ ซึ่งต่ออยู่กับแกน
ของความต้านทานเปลี่ยนค่าได้ ทั้งสองล้อ ในขณะที่ลากเมาส์เหล็กจะเลื่อนไปมา
ทำให้ความต้านทานเปลี่ยนค่าไป ซอฟแวร์ที่ควบคุมจะคอยอ่านค่าสัญญาณแรงดัน
ที่เปลี่ยนแปลง แลัวทำการเคลื่อนย้ายเคอร์เซอร์บนจอภาพตามสัญญาณที่ได้
แนวความคิดในเรื่องการใช้เมาส์เริ่มขยายกว้างออกไป เมื่อศูนย์วิจัยเซร็อคสตาร์
ได้มอบหมายให้ Jack S. Hawley สร้างเมาส์ที่เป็นดิจิตอลตัวแรกขึ้นมา เมาส์ของ Hawley มีพื้นฐานอย่างเดียวกับของ Engelbart เพียงแต่เป็นดิจิตอลเท่านั้น ขณะเดียวกัน
ทางศูนย์ก็ได้เร่งพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ชื่อว่า "Alto" โดยนำเอาเมาส์ที่พัฒนา
อยู่เข้ามาเป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งของ Alto ด้วย แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่า
เซร็อคสตาร์จะขายเครื่องได้ไม่มากเท่าไรนักในตลาด ก็นับได้ว่าเป็นการปูทาง
ให้เกิดการพัฒนาเมาส์กับระบบไมโครคอมพิวเตอร์ในเวลาต่อมา
บริษัทไมโครซอฟต์เป็นผู้ผลิตเมาส์ให้กับตลาดไมโครคอมพิวเตอร์มากกว่า
ครึ่งหนึ่ง การพัฒนาเมาส์ของไมโครซอฟต์เริ่มจากบัสเมาส์ (เมาส์ที่ต้องมีการ์ด
อินเตอร์เฟสต่ออยู่กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์) แล้วมาเป็นซีเรียลเมาส์ซึ่งต่อเข้า
กับพอร์ตสื่อสารอนุกรม(RS232) และต่อมาก็ได้ทำการปรับปรุงบัสเมาส์ให้เป็น
แบบอินพอร์ตชิพ ซึ่งเมาส์แบบนี้นั้นจะมีตัวโปรแกรม ควบคุมเมาส์หรือเมาส์ไดรเวอร์
ที่สามารถควบคุมการทำงานของเมาส์ได้ดีขึ้นเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ
ให้กับเมาส์ แต่อย่างไรก็ตามนอกจากบริษัทไมโครซอฟต์แล้วก็ยังมีบริษัท Logitech ซึ่งครองตลาดเมาส์ได้ส่วนหนึ่งเหมือนกัน และสำหรับบนเครื่อง PS2 ไอบีเอ็มก็ทำ
เมาส์ออกมาให้ใช้กับ PS2 ด้วย โดยเมาส์ของไอบีเอ็มจะต่อกับเครื่อง PS2 ผ่านทางช่องต่อซึ่งเตรียมเอาไว้ให้สำหรับเมาส์ โดยเฉพาะส่วนบริษัทไมโครซอฟต์
เป็นบริษัทแรกที่ทำกล่องอะแดปเตอร์เพื่อให้เมาส์ของตัวเองใช้กับเครื่อง PS2 ของ
ไอบีเอ็มได้ แต่ไอบีเอ็มก็ไม่ได้สนใจที่จะทำเมาส์สำหรับเครื่องพีซีเอกซ์ทีหรือเอทีเลย

จะเลือกเมาส์แบบไหนดี
บัสเมาส์นั้นจะต้องใช้ช่องสล็อตสำหรับเสียบการ์ดควบคุมเมาส์ ส่วนซีเรียลเมาส์
ก็ต้องการใช้พอร์ตสื่อสารอนุกรมหนึ่งพอร์ต การเลือกใช้งานจะขึ้นอยู่กับจำนวนสล็อต
และพอร์ตสื่อสารอนุกรมของเครื่องที่ใช้งานอยู่ เมาส์ของบริษัทไมโครซอฟต์นั้นมีทั้ง
แบบบัสและแบบซีเรียล ด้านราคาและคุณภาพไม่ต่างกันมากนัก สำหรับเมาส์ที่มีข้อต่อแบบ
พิเศษ เช่น อินพอร์ตเมาส์ของไมโครซอฟต์ก็มีเครื่องที่ทำขั้วต่อรองรับอยู่ไม่กี่บริษัท
เช่น ของ Compaq ในบางรุ่น

กลไกภายในของเมาส์
กลไกของเมาส์ในปัจจุบันแบ่งได้ 3 แบบคือ Mechanical, Opto-mechanical และ
แบบ Optical
เมาส์แบบ Mechanical กลไกภายในประกอบด้วยลูกบอลยางที่กลิ้งไปมาได้เมื่อ
ทำการเคลื่อนย้ายตัวเมาส์ ลูกบอลจะกดแนบกับลูกกลิ้งโดยแกนของลูกกลิ้งจะต่ออยู่
กับจานที่ทำหน้าที่เป็น Encoder อีกทีหนึ่ง บนจานจะมีหน้าสัมผัสเป็นจุดๆ ขึ้นกับความ
ละเอียดของเมาส์เมื่อจุดสัมผัสเลื่อนมาตรงแกนสัมผัส (Contact bar) ก็จะสร้างสัญญาณ
บอกไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งตัวโปรแกรมควบคุมเมาส์จะทำหน้าที่แปลเป็นการเคลื่อนที่
ของเคอร์เซอร์อีกทีหนึ่ง
เมาส์แบบ Opto-mechanical จะคล้ายคลึงกับแบบแรก เพียงแต่ตัวตรวจรับการเคลื่อนที่
ของจานจะใช้เป็น LED โดยบนจานถูกเจาะรูรอบๆขอบจาน มี LED อยู่ด้านหนึ่งของจาน
คอยทำหน้าที่กำเนิดแสง อีกฟากหนึ่งของจานก็จะมี Optotransistor ซึ่งทำหน้าที่ตรวจจับแสง

เมาส์แบบ Optical จะต้องใช้ ประกอบกับแผ่นกรองพิเศษซึ่งมีผิวมันสะท้อนแสง
และตารางเส้นแนวนอนและแนวตั้งตัดกัน เอาไว้สำหรับตรวจสอบการเคลื่อนที่ โดยเส้นตรงแต่ละแกนใช้ตรวจทิศทางการเคลื่อน แกนหนึ่งเป็นสีน้ำเงิน อีกแกนหนึ่งเป็นสีดำ ส่วนบนตัวเม้าส์จะมี LED สองตัวทำหน้าที่ให้กำเนิดแสงออกมา LED ดวงแรกให้กำเนิด
แสงสีแดงซึ่งแถบสีน้ำเงินจะดูดกลืนแสงสีนี้ ส่วน LED อีกดวงจะให้กำเนิดแสง
อินฟราเรดซึ่งแถบสีดำจะเป็นตัวดูดกลืน ตัวตรวจรับแสงเป้นทรานซิสเตอร์แสง สีที่ตรวจรับได้จะบอกถึงทิศทาง ส่วนช่วงของแสงที่หายไปจะบอกถึงระยะทาง
การเคลื่อนที่
เมาส์อีกแบหนึ่งซึ่งจะขอกล่าวเสริมคือเมาส์แบบล้อ(Wheel Mouse) ซึ่งโครงสร้าง
ภายในจะกล่าวถึงเมาส์แบบ Mechanical โดยไม่มีลูกบอลมาสัมผัสกับลูกกลิ้งที่ต่อบน
แกนหมุนอีกทีแต่ลูกกลิ้งจะถูกกดให้สัมผัสกับพื้นผิวโดยตรง

เมาส์ส่วนใหญ่จะมีความละเอียดในการเคลื่อนที่อยู่ระหว่าง 100 ถึง 400 จุดต่อ
หนึ่งตารางนิ้ว (dpi) ถ้าเลือกเมาส์ที่มีความละเอียด 200 dpi แน่นอนได้เลยว่าเวลาใช้งาน
ระยะในการเคลื่อนที่เมาส์ย่อมเร็วกว่าเมาส์ที่มีความละเอียด 400 dpi ในการทำให้เคอร์เซอร์
บนจอภาพเคลื่อนที่ในระยะทางเท่าๆกัน
ผู้ผลิตเมาส์ส่วนใหญ่ทราบดีว่าบริษัทไมโครซอฟต์เป็นผู้ครองตลาดเมาส์มากที่สุด ดังนั้นเมาสืที่นำออกจำหน่ายแข่งขันกับไมโครซอฟต์เมาส์ก็จำเป็นต้องออกแบบให้สามารถ
ใช้งานได้อย่างน้อย 2 โหมดคือ โหมดของไมโครซอฟต์เมาส์และโหมดของตนเอง
และตามปกติแล้วเมื่อเราซื้อเมาส์ ผู้ขายมักจะแถมหรือแจกซอฟแวร์มาด้วยเสมอ นับว่าเป็นสิ่งที่ช่วยในการตัดสินใจในการซื้อเมาส์



วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สัปดาห์ ที่ 5

csaii code

chaipat sukphankprom
110000100001001010000010100100100000101010000010001001010
110010101010101011010010000010100001001010000010011100101101001000001010010010101111001010110010

ชัยพัฒน์ สุขพรั่งพร้อม
0101010110001011010011010111110110001011010011011001110101110111
010100110001101101000101011111011100001110001011000010111111001010111110111000011100101111011001110000011

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่4

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์





CASE เคสหรือตัวถัง หลายคนจะเรียกว่าซีพียูเนื่องจากเข้าใจผิด สำหรับเคสนั้นเป็นเพียงวัสดุที่ทำเพื่อให้เราสามารถติดตั้ง อุปกรณ์ต่างๆ ประกอบกันได้เป็นระเบียบ แล้วก็ช่วยป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ด้วย ภายในเคสก็จะมีพื้นที่สำหรับติดตั้งเมนบอร์ด ติดตั้งฮาร์ดดิสก์ ติดตั้งซีดีรอม มีพัดลมระบายความร้อน และที่ขาดไม่ได้ก็คือ Power Supply ซึ่งจะมีติดอยู่ในเคสเรียบร้อย เคสคอมพิวเตอร์ควรเลือกที่รูปทรงสูงๆ เพื่อจะได้ติดตั้งอุปกรณ์ได้ง่าย และควรเลือกเคสที่มีช่องสำหรับติดตั้งฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ เผื่อเอาไว้หลายๆ ช่อง ในกรณีที่ต้องการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมในภายหลังจะได้ง่ายขึ้น
Mainboard / Motherboard เมนบอร์ดหรือแผงวงจรหลักที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ การจะให้อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานได้นั้น ต้องติดตั้งหรือเชื่อมต่อ สายเข้ากับเมนบอร์ด แม้แต่ซีพียูก็ต้องติดตั้งเข้ากับเมนบอร์ด เมนบอร์ดถูกผลิตออกมาเพื่อใช้กับซีพียูต่างรุ่นต่างแบบ และยัง มีผู้ผลิตหลายรายด้วยกัน เช่น ASUS, ECS, GIGABYTE, CHAINTECH, MSI, ABIT, INTEL เป็นต้น เนื่องจากเมนบอร์ดมีจุดที่จะต้องต่อพ่วงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าไป ดังนั้นจึงต้องดูรายละเอียดที่สำคัญๆ บนเมนบอร์ด ซึ่งแยกเป็น หัวข้อตามรายเมนูด้านล่าง เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น HARD DISK อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ซึ่งไม่มีความแตกต่างจากเทปเพลงที่ใช้กับเครื่องเสียง คือใช้แม่เหล็กสำหรับจัดเก็บข้อมูล โปรแกรม ทุกโปรแกรม เกมส์สนุกๆ ที่คุณเล่น งานที่คุณพิมพ์ ต่างก็ต้องใช้ฮาร์ดดิสก์ในการจัดเก็บข้อมูล ฮาร์ดดิสก์จะมีอินเทอร์เฟส สองชนิดด้วยกันคือ 1. แบบ IDE และ 2. SCSI (ออกเสียงว่า สกัซซี่) ฮาร์ดดิสก์แบบ IDE จะได้รับความนิยมมากกว่า เนื่องจากราคาถูก ส่วนฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI นั้นมีความเร็วในการรับส่ง ข้อมูลสูง ส่วนใหญ่จะใช้กับเครื่องเซิร์ฟเวอร์หรือเครื่องที่ต้องอ่านเขียนข้อมูลบ่อยๆ แต่ก็มีข้อเสียคือราคาแพง สำหรับฮาร์ดดิสก์การเลือกซื้อจะดูที่ความจุของฮาร์ดดิสก์ และก็ความเร็วในการหมุน (ทำให้ค้นหาข้อมูลได้เร็ว) เช่น ความจุ 120 GB ความเร็วรอบ 7200 rpm (รอบต่อนาที) ในรูปจะเห็นคอนเน็คเตอร์สำหรับต่อสายแพเข้ากับที่ฮาร์ดิสก์ไปที่เมนบอร์ด และช่องสำหรับต่อสายไฟจากพาวเวอร์ ซัพพลาย ส่วนรูปเล็กนั้นเป็นรูปภายในของฮาร์ดดิสก์

RAM (Random Access Memory) หน่วยความจำแรม หน่วยความจำชนิดนี้จะบันทึกและอ่านข้อมูลด้วยกระแสไฟฟ้า แล้วต้องมีกระแสไฟจ่ายให้ตลอดเวลา ถ้าปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่อยู่ในแรมก็จะหายไปด้วย แรมจะถูกนำมาใช้ในการรับส่งข้อมูลระหว่างซีพียูกับฮาร์ดดิสก์ หรืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชนิดอื่น หากมีข้อมูลที่ซีพียูจำเป็นต้องใช้งานบ่อยๆ ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่แรมก่อน เพื่อให้ซีพียูเอาข้อมูลมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากแรมรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่าฮาร์ดดิสก์นั่นเอง แรมยังมีหลายประเภทด้วยกัน เช่น DRAM, DDRRAM, SDRAM, RDRAM, FlashRAM, VRAM เป็นต้น การเลือกซื้อแรมนั้นต้องดูว่าเมนบอร์ดรุ่นที่ต้องการซื้อหรือที่มีอยู่ มีซ็อคเก็ตสำหรับติดตั้งแรมแบบไหน เช่น เมนบอร์ดยี่ห้อ MSI รุ่น MS6373 มีสล็อตแรมแบบ 3DDR DIMM ก็คือมีซ็อคเก็ตสำหรับติดตั้งแรมได้สามชิ้น โดยแรมที่ใช้กับเมนบอร์ดนี้ต้องเป็นแรมแบบ DDR


Keyboard แป้นพิมพ์ การพิมพ์ข้อความ การสั่งงานคอมพิวเตอร์และการทำงานหลายๆ อย่างต้องใช้แป้นพิมพ์เป็นหลัก แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ดจะต่อสายเข้ากับพอร์ต PS/2 ของเมนบอร์ด นอกจากนี้ยังมีคีย์บอร์ดที่เป็นแบบ USB คือต้องต่อเข้าที่พอร์ต USB ของเมนบอร์ด และยังมีคีย์บอร์ดไร้สายอีกด้วย


Mouse อุปกรณ์ประเภท Pointing Device ทำให้คุณสั่งงานคอมพิวเตอร์ ด้วยการชี้และกดเลือกคำสั่งที่ต้องการได้ง่ายกว่า การใช้แป้นพิมพ์ และเม้าส์ยังใช้กับการวาดภาพ เล่นเกม ได้อีกด้วย เม้าส์จะมีให้เลือกใช้งานหลายแบบหลายราคา หลายยี่ห้อ ตั้งแต่ราคาไม่กี่ร้อยจนถึงหลักพัน โดยเม้าส์จะมีแบบที่เชื่อมต่อแบบ PS/2 (ปลายสายจะมีขั้วต่อแบบกลมเล็ก มีเข็มหกอัน ข้างใน) หรือจะเป็นเม้าส์แบบ USB ที่มีขั้วต่อเป็นทรงสี่เหลี่ยมแบนๆ

วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่3



การประกอบและตรวจเช็คอมพิวเตอร์

1.ram ยี่ห้อ sec ความจำ 32 mb bus 366

2.CPU ยี่ห้อ AMD Duron socket 462

3.Harddisk ยี่ห้อ Seagate ความจุ 10.2 Gbyles

4.Power Supply ยี่ห้อ Xpert กำลังไฟ 230 v 300w

5.Mainbord ยี่ห้อ Matsonic รุ่น ms8308e

6.Floppy disk ยี่ห้อ Mitsumi ขนาด 3.5"

วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่2

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ทำ งานอย่างเป็นระบบ(System) หมายถึงภายในระบบงานคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยที่มีหน้าที่เฉพาะ ทำงานประสานสัมพันธ์กัน เพื่อให้งานบรรลุตามเป้าหมาย ในระบบงานคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 4 องค์ประกอบ คือ บุคลากร (Peopleware) ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) และ ข้อมูล(Data)และสารสนเทศ(Information)



บุคลากร (Peopleware) หมายถึง บุคคลที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ในด้านต่าง ๆ ซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อระบบงานมากที่สุด



ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง ส่วนประกอบของอุปกรณ์ที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ สามารถจับต้องสัมผัสได้ แบ่งฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ออกตามหน้าที่การทำงาน เป็น 4 ประเภท คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) และหน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage Unit)



ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ข้อมูลของที่เป็นชุดคำสั่ง (Instruction Set) ที่สามารถสั่งงานฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ให้ประมวลผลหรือทำงานตามคำสั่งได้อย่างอัตโนมัติ ตั้งแต่เริ่มจนจบการทำงาน โดยมีมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องน้อยที่สุด เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โปรแกรม(Program) ไม่สามารถจับต้องซอฟต์แวร์ได้โดยตรง ซอฟต์แวร์จะถูกจัดเก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูลของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ แผ่นดิสก์ (Diskette) ฮาร์ดิสก์ (Hard Disk) หรือแผ่นซีดี-รอม (CD-ROM)



ข้อมูล (Data) หมายถึง รายละเอียดข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับบุคคล สิ่งของ สถานที่ หรือเหตุการณ์ใด ๆ ที่สนใจศึกษาและนำข้อมูลเข้าสู่ระบบการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ เมื่อข้อมูลผ่านการประมวลผลแล้ว และนำไปใช้ประโยชน์ได้ จะเรียกว่า สารสนเทศ (Information)



กระบวนการทำงาน (Procedure) หมายถึง กระบวนการต่าง ๆ ที่คอมพิวเตอร์สามารถทำหรือประมวลผลได้ ได้แก่
การประมวลผล (Processing) ตัวอย่างเช่น การคำนวณ การเปรียบเทียบการจัดเรียง การค้นหา การปรับปรุงข้อมูล การสรุปผล การจัดกลุ่ม การแสดงผล เป็นต้น
การสร้างความน่าเชื่อถือ (Reliability) หมายถึง กระบวนการสร้างและรักษาความปลอดภัย และความแม่นยำเที่ยงตรงในการประมวลผล
การพัฒนาระบบ (Development) หมายถึง กระบวนการพัฒนาระบบงานประยุกต์ การพัฒนาคำสั่งหรือโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ซึ่งมีขั้นตอนและกระบวนการพัฒนาทกำหนดมาตรฐานไว้ เพื่อให้การพัฒนามีประสิทธิภาพ